Welcome to BBB

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Bonsai Beginner Blog ครับ... บล็อกนี้เป็นบล็อกที่จัดทำขึ้นเพื่อ Updateไม้ของผมเองรวมถึงขั้นตอน Workshop และข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจในการทำไม้ อนึ่งบทความและเรื่องราวต่างๆในที่นี้เป็นไปในลักษณะ "จากมือใหม่เพื่อมือใหม่" ดังนั้นอาจมีแป๊กบ้างพอสมควรก็ขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ

Welcome to Bonsai Beginner Blog! the blog from beginner for beginner!.

5/31/2553

the Dragon and Procumbens

พญามังกรกับสนพันปี

ตั้งชื่อให้ดูเวอร์ไปอย่างนั้น... เห็นสวยดีเลยถ่ายให้ดูเล่นขำๆครับ












Up side down Ficus

จับมะเดื่อมาหกคะเมน!!

สวัสดีครับทุกท่าน

เมื่อวันก่อนคุณ สิทธิ์ เชียงใหม่ เอามะเดื่อต้นนี้มาให้... ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูง


วันนี้ว่างๆผมเลยเอามานั่งวิเคราะห์ดูครับ... รูปทรงมันส์ดี ทำป่ารากเดียวได้ ตกกระถางและกึ่งตกกระถางก็ได้

แต่อย่ากระนั้นกระนี้เลย เรามาคุ้ยดูสันรากก่อน ก็เขี่ยๆๆ.... เฮ้ย!!! ไหนล่ะราก


งานนี้มีแต่รากฝอยครับท่าน เอาล่ะสิ ทำทรงไหนดี...


ลองจับมาตกกระถางดู... อืมๆๆ เอาไงดี

ริดใบดูก่อน...อืมๆๆ แน่ใจนะว่าจะตกกระถาง?


และแล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อผมจับมันพลิก 90 องศา แบบงงๆ


สิ่งที่ได้คือโคนที่ผายและสันรากครับ โดยสันรากมาจากกิ่งต่างๆที่โดนพลิกลงดิน ซึ่งทุกท่านคงทราบกันดีแล้วว่า ไม้ตระกูลไทรแตกรากง่าย ผมเลยคิดว่าทำแบบนี้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร


กลบๆไว้ก่อนครับ รอไม้แข็งแรงรากเดินดีค่อยคิดว่าจะตัดยังไง เรื่องทรงก็เหมือนกัน ค่อยว่าทีหลัง...
แต่ เอ.... ผมว่ามันลู่ลมมาแต่ใกลแล้วนะ 555

5/03/2553

One Year After.

วันนี้เอาสนเลื้อยตกกระถางต้นเก่ามาอัพครับ สนเลื้อยต้นนี้ผมเริ่มทำประมาณเดือน ธค 51 หรือผ่านมาปีกว่าแล้ว และเป็นสนต้นแรกที่ได้ลองเอามาทำเป็นบอนไซครับ

รูปนี้ถ่ายตอน มีค 52 ครับ...ตอนนั้นก็มั่วๆดัดไปตามเรื่อง กะว่าแค่ดูได้ก็ดีใจตายแล้ว

ผ่านมา 1 ปีกว่า...ภาพนี้ถ่ายตอน กพ53 ใบแน่นขึ้นมากและไม่มีใบแห้งตายเลย...สุขภาพดีสุดๆ หุหุหุ
แต่พอลองดูๆก็รู้สึกไม่ชอบครับ ทรงตกลงมาตรงๆมันซื่อไป และลักษณะที่ตกแบบทิ้งดิ่งแบบนี้จะเป็นผลเสียเรื่องใบบังกันในอนาคต...



เลยจัดการ Restyle ใหม่เมื่อวานนี้ครับ...เป็นยังไงกันบ้าง

อีกมุมนึง ส่วนตัวผมว่ามุมนี้มันมีลีลาดีกว่า

จบแระครับ กับภาพเปรียบเทียบความต่างในเวลาเพียง 1 ปี

4/22/2553

สนเลื้อยที่ไม่เลื้อย

สวัสดีครับ

กลับมาอีกครั้งกับสนเลื้อยเช่นเดิม...หวังว่าคงไม่เบื่อซะก่อนนะครับ ที่มีแต่สนชนิดนี้เพราะมันเป็นวัตถุดิบที่หาง่ายราคาถูกเหมาะกับการเอามาฝึกมือเป็นอย่างยิ่งนั้นเอง...

จากหลายๆครั้งที่ผ่านมา อาจจะมีคำถามว่า การที่ผมทำสนเลื้อยทรงต้นได้นั้นเกิดจากการที่สามารถหาวัตถุดิบที่มีรูปทรงเหมาะสมได้ และอาจจะเกิดคำถามว่า...ถ้าเป็นสนเลื้อยทรงที่เห็นกันทั่วๆไปล่ะ จะสามารถทำทรงอื่นนอกจากทรงตกกระถางได้หรือไม่? ..... คำตอบคือ "ได้!"
ผมเลือกวัตถุดิบเป็นเป็นสนเลื้อยแคระ (J.Procumbens "Nana") ขนาดโคนประมาณ 1 นิ้วซึ่งหาได้ทั่วไปตามตลาดขายไม้ประดับ สำหรับต้นนี้ผมไปเอามาจากตลาดคำเที่ยงครับ... และเป็นการทดลองไปหาไม้แบบไม่เลือก(ไม่ดูตำแหน่งกิ่งแต่ดูขนาดโคนนิดหน่อย) เพื่อให้ทุกท่านเห็นว่า ไม้เกือบทุกต้นสามารถทำให้ดูดีได้หากมีการจัดการและการออกแบบที่ดี...
ตามขั้นตอนปรกติครับ...ตัดกิ่งที่ใหญ่เกิน กิ่งตาย และกิ่งที่สะเปะสะปะออกกองใหญ่...

หลักการออกแบบของผมจะเป็นตามนี้ครับ.. (ต้องเลือกหน้าไม้ก่อนนะครับ)
ผลสมมุติให้โคนต้นเป็นจุด A และปลายกิ่งและยอดต่างๆเป็นจุด B ส่วนจะมีจุด B กี่จุดก็แล้วแต่ไม้ครับ
ให้ลองลากเส้นในจินนาการ จาก A ไปที่ B ต่างๆ เส้นไหนตรงใจที่สุด?
B1,B8 ตัดไปได้เลยครับเพราะนำสายตาให้ดูเลื้อยมากเกินไป ตอนนี้ที่ผมเล็งไว้ได้แก่ B3-6
กิ่งที่เหลือตามภาพนี้ ให้คิดซะว่าเป็นกิ่งที่ได้เข้ารอบชิงเพื่อหายอดที่ดีที่สุดครับ
ในการพิจารณาเลือกกิ่งเป็นยอดนั้นให้ดูจาก
1-กิ่งย่อยเยอะ
2-กิ่งย่อยต่างๆกระจายออกหลายด้าน(ออกรอบ)
3-เป็นกิ่งที่มีใบแน่นและแข็งแรง
4-ความยาวของกิ่งย่อยกับช่อใบดูยืดน้อยที่สุด
ด้านหลังครับ

หลังจากนั้นผมก็จะเริ่มทำซาก... ผมขออธิบายการทำซากแบบง่ายๆใหฟังนะครับ เพราะหลายๆคนคิดว่าการแกะซากเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องมีเครื่องมือหลายแบบทั้งสิ่วต่างๆ เครื่องเจียรไฟฟ้า ฯลฯ... ไม่แน่เสมอไปครับ
ผมเริ่มจากการลอกเปลือกกิ่งต่างๆ รวมถึงเปลือกที่ลำต้นที่ต้องการให้เป็นซากออกให้หมด..
จริงๆการทำซากควรทำช่วงต้นหนาวนะครับ...ต่างกับทางต่างประเทศที่ของเขาเป็นเมืองหนาว จึงนิยมทำซากกันในฤดูร้อน... หลักในการเลือกเวลาก็คือให้ทำซากในเดือนที่ไม้มีน้ำหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อมากที่สุด เพราะทำให้ลอกเปลือกง่ายนั่นเอง...
หลังจากที่จัดการกับเปลือกเสร็จ...ให้สังเกตุว่า ตอนนี้ผมได้เลือกกิ่งที่จะตั้งเป็นยอดเรียบร้อยแล้ว...
วิธีการทำให้เป็นซากอยู่ตรงนี้ครับ ให้ค่อยๆใช้คีมจิกหัวไม้และฉีกออกทีละนิดๆ ให้ทำไปเรื่อยๆจนกว่าปลายมันจะเรียวและดูธรรมชาติอย่างที่ต้องการ กิ่งเล็กๆบางกิ่งก็ให้ฉีกออกเป็นทางยาวเลยครับ
หลังจากที่ทำซากแล้ว... ขออภัยครับที่ถ่ายมาไม่ชัด


เรียบร้อยแล้วครับ...ขนาดความสูงจากโคน 15ซม พอดี... ขอให้สนุกกันการทำไม้ทุกท่านนะครับ สวัสดี!

4/15/2553

J.Procumbens to Bunjin!!.

สวัสดีครับทุกท่าน...

วันนี้ลองมาอัพ workshop การทำสนเลื้อย (Juniperus Procumbens) ให้ดูกันนะครับ
ไม้ต้นนี้ผมได้มาจากอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่...เจ้าของสวนวางไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ ทำให้เจ้าสนต้นนี้ปรับตัวโดยการตั้งลำต้นขึ้นเพื่อแสวงหาแสงแดด ไม่เลื้อยออกข้างเหมือนปรกติทั่วไปของสนเลื้อย ซึ่งหา
ได้ไม่ง่ายนักครับ...


รูปนี้คือสภาพที่ได้มาครับ (จริงๆแล้วกิ่งด้านหน้าที่เห็นเป็นรอยตัดเพิ่งตัดตอนได้ไม้มาแต่ลืมถ่ายไว้ครับ)
สภาพที่เห็นคือ ไม้มีความอ่อนแอพอสมควรและมีสภาพที่ดิ้นรนเอาตัวรอดในสภาพแสงน้อยมาก่อน
โดยสังเกตุได้จากช่อใบที่ยาวอ่อนแอและแทงขึ้นบน ซึ่งผิดธรรมชาติของสนชนิดนี้... ดังนั้นผมจึงคิดออกแบบไม้ต้นนี้โดยการดึงจุดเด่นเพื่อมาเสริมจุดด้อย


หลังจากที่เคลียกิ่งตาย, กิ่งที่ไม่ต้องการและกิ่งที่เล็กไปและใหญ่เกินไปออกแล้ว เราก็จะสามารถมองรูปทรงของไม้ได้ออกมากขึ้น ทีนี้ลองมาวิเคราะห์กันดู ไม้ต้นนี้มีลีลาของลำต้นที่น่ามอง กล่าวคือมีการบิดเพื่อดิ้นรนเอาตัวรอดตามธรรมชาติ มีสันรากที่พอใช้ (ด้านหลังแหว่งไปบ้างครับ สามารถปลูกหญ้าเล็กๆชิดโคนเพื่อปิดจุดด้อยได้ภายหลัง)และมีลักษณะที่แปลกซึ่งไม่พบในสนเลื้อยทั่วๆไปคือเป็นสนเลื้อยทรงต้น...

จุดด้อยของไม้ต้นนี้คือมีกิ่งที่อ่อนแอและอยู่ค่อยข้างสูง... ด้วยลักษณะตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผมจึงตัดสินใจที่จะทำเป็นไม้ทรงบัญฑิต (Bunjin หรือ Literati) ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถใช้รูปทรงที่สูงยืดของไม้ มาเป็นจุดเด่น... เรื่องของไม้บัญฑิตผมจะขออธิบายเพิ่มเติมในภายหลังนะครับ


ทำการลอกเปลือกและแกะซาก... ทำไมจูนิเปอร์จึงมักมีซาก?...
เพราะเป็นลักษณะตามธรรมชาติของไม้ตระกูลสนครับ และยังแสดงถึงความเก่าแก่ได้อย่างดีอีกด้วย
อีกอย่างหนึ่ง...เนื่อจากไม้ตระกูลสนนั้นเป็นไม้ที่เจริญเติบโตช้า การที่แผลจากการตัดกิ่งที่ใหญ่ๆจะรักษาตัวเองจนหุ้มหมดใช้เวลานาน...การทำซาก (Shari) และกิ่งตาย (Jin) จึงเป็นทางเลือกที่ดี
ทำการเผาเสี้ยนให้หมด จริงๆแล้วต้องใช้ไฟฟู่ เพื่อให้ควบคุมจุดที่จะเผาได้ดีกว่าและไม่เป็นการทำลายส่วนที่มีชีวิต...แต่วันนั้น ออกซิเจนเจ้ากรรมดันหมด ผลก็คือได้ไฟเหมือนไฟแช๊กที่ปลายหัวเป่าแทน...
(ขอขอบคุณเพื่อนข้างบ้านที่ให้ยืมหัวเป่า ถึงแม้เขาจะได้อ่านหรือไม่ก็ตามที)


ทาทับด้วยน้ำยารักษาซากไม้ (Lime Sulfer)...
จริงๆแล้วที่ผมเคยศึกษามาเขาให้ทาหลังจากที่ไม้แห้งสนิทแล้ว แต่จากการที่เห็นวีดีโอสาธิตต่างๆและการแนะนำของพี่เผินใจ ก็พบว่าสามารถทาทับได้ทันทีเหมือนกันหากไม้ผ่านการเผามาแล้ว...ก็ลองๆดู

ลองเข้าลวดคร่าวๆและออกแบบไปเรื่อยๆ เนื่องจากงานนี้เป็นการทำสด ไม่มีสเก็ตเหมือนบางต้นที่ผ่านมา

เสร็จสำหรับครั้งนี้ครับ ความสูงสุธิประมาณ 40 ซม ต่อจากนี้ก็เป็นการเลี้ยงรายละเอียดและขุนให้ไม้สมบูรณ์พอที่จะตัดรากออกไปอีกในอนาคต...


ทีนี้ก็มาพูดกันเรื่องที่ติดค้างกันไว้...
"ไม้บัญฑิต...น้อยแต่มาก"
แปลจากหนังสือ bonsai today masters' series "Juniper" หน้า77 โดยอู๋ เชียงใหม่
ไม้บัญฑิต หรือ Bunjin Style นั้นยากที่จะให้คำนิยาม ดั่งที่ โทมิโอะ ยามาดะ ผู้ที่ได้รับอิธิพลในการทำไม้บัญฑิตจากภาพเขียนจีนโบราณ กล่าวว่า "มันคือไม้ที่ดูเพลิดเพลินใจยามจิบชา คือไม้ที่มีลีลาเป็นธรรมชาติ และเป็นไม้ที่ทำให้คุณรู้สึกอ้างว้างเล็กน้อยเมื่อเพ่งดู"
ถ้าจะกล่าวถึงนิยามโดยทั่วไปของไม้ทรงบัญฑิตนั้นก็อาจจะพูดได้ว่า เป็นไม้ที่มีลำต้นผอม, ไร้กิ่งล่าง, มีกิ่งบนจำนวนน้อยและมีลีลาที่อ่อนช้อยอรชร... บ่อยครั้งสิ่งเหล่านี้มักจะหักล้างกฎของตำแหน่งกิ่งมาตราฐานไปเลย คุณยามาดะกล่าวว่า "โดยทั่วไปนั้น ไม้บัญฑิตมันถูกออกแบบให้เป็นทรงโน้มเอียงและทรงต้น แต่บางครั้งมันถูกออกแบบมาในรูปแบบของไม้ตกกระถาง, ลู่ลม และ กลุ่มกอ อีกด้วย"
"ไม่มีนิยามที่เข้มงวดสำหรับไม้บัญฑิต" โมริโอะ ซูซูกิ กล่าว... "คุณสามารถจัดการรูปทรงได้ตามจินตนาการ แต่ผลลัพต้องดูละเอียดอ่อน, สง่างาม, ดูดีและสวยงามด้วยลำต้นผอมบางและใบอันน้อยนิด"
"ลักษณะที่สำคัณที่สุด คือลีลาของลำต้น" คุณซูซูกิอธิบาย "แม้ว่ามันไม่มีมาตราฐานที่แน่นอน...ไม้บัญฑิตควรจะชวนให้นึกถึง ต้นไม้ที่เจริญเติบโตขึ้นในหุบเขาลึก ที่ซึ่งต้นไม้ได้แทงยอดขึ้นสูงลิบเพื่อแสวงหาแสงสว่าง แต่เนื่องจากการดิ้นรนแย่งอาหารกันของต้นไม้ข้างเคียง กิ่งต่างๆจึงเติบโตในลักษณะที่เลี่ยงการบดบังแสงสว่างโดยมีการหงิกงอและมีกิ่งที่สั้นติดลำต้น"
"เมื่อมันไม่มีมาตราฐานที่แน่ชัด...คุณสามารถจัดกิ่งแบบบังหน้าไม้ หรือจัดกิ่งหลักให้เป็นกิ่งหน้าไปจนถึงการจับหักหัวห้อยลง"

3/15/2553

ว่ากันด้วยเรื่องของสน

บทความนี้ผมเคยเขียนลงในเว็บบอนไซไทยเมื่อ 16/8/09 ครับ

พืชตระกูล Conifer
หมวด Piniphyta หรือ Coniferrophyta
ชั้น Pinopsida

ไม้ตระกูลสนจัดอยู่ในหมวดพืชจำพวก Piniphyta หรือ Coniferophyta หรือ Coniferae ซึ่งเป็นหนึ่งใน 13-14 หมวดในการจัดลำดับของอนาจักรพืช สนจัดอยู่ในจำพวกพืชเมล็ดเปลือยซึ่งมีรวงบรรจุเมล็ดเป็นรูปโคน (Cone) ไม้สนเป็นไม้ป่าส่วนใหญ่มีขนาดสูงใหญ่ มีบ้างที่พบเป็นไม้พุ่ม... ตัวอย่างของไม้สกุลสนคือ ซีดาร์, เฟอร์, ไซเพรส, จูนิเปอร์, สนเข็ม, สนใบพาย, มะขามป้อมดง เป็นต้น

สนประกอบด้วยสมาชิก 7 อันดับ (บางตำราบอกว่า8) 68สกุล และ 630 ชนิดที่ยังพบได้ในปัจจุบัน แม้ว่าจำนวนชนิดจะดูน้อยเมื่อเปรี่ยบเทียบกับสมาชิกในกลุ่มอื่น แต่สนจัดเป็นพืชที่มีความหลากหลายทางนิเวชวิทยาอันสำคัญเนื่องจากมันมีการแพร่กระจายเป็นวงกว้างทั่วโลก เกือบทั้งหมดแพร่กระจายอยู่ในเขตพื้นที่หนาวเย็นทางเหนือ แต่ก็สามารถพบได้ในเขตภูเขาสูงในพื้นที่อบอุ่นลงมา นากจากนั้นสนยังมีคุณค่าอย่างมากในอุสาหะกรรมผลิตไม้และกระดาษ ไม้ของสนจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน

เดี๋ยวมาเขียนต่อนะครับ